9 กันยายน 2554

กรณีศึกษา:โฮมสเตย์บนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร


ขอบเขตการศึกษา

                กลุ่มของข้าพเจ้ามีความสนใจในเรื่องการทำโฮมสเตย์ของชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์ เพราะเป็นการประกอบอาชีพที่เรีบยง่ายตามประสาชาวบ้าน ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวถือว่าดีที่เดียว และยังเป็นโฮมสเตย์ที่สร้างขึ้นออกเป็นแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ

ประเด็นการศึกษา
            1.ศึกษาลักษณะการก่อตั้งโฮมสเตย์
2.ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของโฮมสเตย์ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.ศึกษาการวางแผน ในการดูแลโฮมสเตย์ แต่ละหลัง


วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์
2.เพื่อเป็นแนวปฎิบัติในการประกอบอาชีพ


วิธีการศึกษา
1.ออกสำรวจว่ามีโฮมสเตย์กี่หลังคาเรือน  มีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง
2.สอบถามข้อมูลจากโฮมสเตย์ หลังที่ 14 บ้านเกาะพิทักษ์ โดยมีคุณ อำพล  ธานีครุฑ และคุณพร ธานีครุฑ เป็นผู้ดูแล  โดยการบันทึกข้อมูลเป็นวิดีโอ
3.รวบรวมข้อมูลโดยการดูวิดีโอแล้วบันทึกเป็นรายงาน
4.สรุปผลการศึกษา


ผลการศึกษา

เกาะพิทักษ์   จังหวัด ชุมพร





ความเป็นมา
เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวท้องครก ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   เป็นเกาะตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินประมาณ 1 กิโลเมตร บนเนื้อที่ 712 ไร่แบ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย 142 ไร่ พื้นที่สาธารณะประโยชน์ 570 ไร่ ปัจจุบันมีครัวเรือนอยู่อาศัย 42 ครัวเรือน ประชากร 200 คน
เกาะพิทักษ์ในปัจจุบัน จัดว่ามีชื่อเสียงทางด้านการบริหารการจัดการชุมชน จนเป็นชุมชนที่มีลักษณะการจัดการการท่องเที่ยวดีเด่น จนหลายหน่วยงานส่งคนเข้าไปศึกษาเรียนรู้วิธีการต่างๆ
การจัดการเกาะพิทักษ์ เกิดความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านและผู้นำอย่าง นายอำพล ธานีครุฑผู้ใหญ่บ้าน หรือที่เรียกกัยว่า ผู้ใหญ่หรั่ง”  สำหรับเกาะพิทักษ์  ในอดีตชาวบ้านเรียกกันว่า เกาะผีทัก ตามคำบอกเล่าของชาวประมงคนหนึ่ง ซึ่งออกเรือหาปลาบริเวณ เกาะพิทักษ์ เมื่อมองที่ฝั่งบนเกาะ พบเงาคนกำลังกวักมือเรียก แต่พอเข้าไปบนเกาะกลับไม่พบผู้คนเลยซักคนเดียว ชาวประมงและชาวบ้านใกล้เคียง จึงเรียกเกาะนี้ว่า เกาะผีทัก ล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเกาะเพื่อความสิริมงคล แต่ยังรักษาคำเดิมๆไว้ เพื่อให้ผู้คนจดจำได้ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น เกาะพิทักษ์แทน  แม้เกาะพิทักษ์ จะเปนเกาะเล็กๆแต่บนเกาะยังมีการเดินทางถนนตัวหนอนรอบเกาะ นักท่องเที่ยวสามารถชมวิถีชีวิตชาวประมง ชมกรรมวิธีการเผามะพร้าว  ชมวิวรอบเกาะได้ ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง  ชุมชนเกาะพิทักษ์  ยังได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเลได้ดีเด่น ไม่แพ้เกาะใดๆ ในอดีตชุมชนแห่งนี้ ยังเคยได้รับ รางวัลเกาะปลอดภัยจากยาเสพติดมาแล้ว 
           
โฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์ ที่ เกาะพิทักษ์
 จุดเริ่มต้นของกลุ่ม โฮมสเตย์ บ้าน เกาะพิทักษ์  เกิดเมื่อประมาณปี 2538 เมื่อเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น ประกอบกับติดใจในธรรมชาติของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเริ่มมองหาที่พัก ผู้ใหญ่บ้านอำพล ธานีครุฑ จึงเรียกลูกบ้านประชุมหารือในการจัดทำบ้านพักในรูปแบบ โฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและเป็นรายได้เสริมให้กับลูกบ้านบนเกาะ โดยในปีแรกได้เก็บเงินจากนักท่องเที่ยวเพียง 100 บาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทดลองให้กับลูกบ้าน....ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการพักผ่อนแบบ โฮมสเตย์ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น โฮมสเตย์ บ้าน เกาะพิทักษ์ จึงเริ่มรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้การจัดการในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อแบ่งปันรายได้ให้ทั่วถึง ซึ่งชาวบ้านบนเกาะทั้งหมด 42 ครัวเรือน ปัจจุบันสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกหลัง... โฮมสเตย์ เกาะพิทักษ์ นับเป็นชุมชนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากนิตยสาร และหนังสือหลายเล่ม ว่าเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจ และเป็นเกาะที่ยังคงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามรอบเกาะไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และเริ่มเป็นเกาะที่ติดอกติดใจของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนในขณะนี้
คุณป้าพร ธานีครุฑ ได้ให้ข้อมูลว่า การลงทุนทำโฮมสเตย์ไม่ได้มากมายอะไร เก็บเล็กผสมน้อย ลงทุนไปครั้งแรกประมาณ 10,000-20,000 แล้วค่อยเก็บทีละน้อย เพื่อนำไปซื้อไม้เพื่อต่อเติมโฮมสเตย์ ซื้อไม้แล้ว แช่น้ำทะเลไว้ใต้ทุนบ้าน เพื่อให้ไม้มีความเหนียวและความคงทน
โฮมสเตย์ทั้งหมดเป็นแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมบนเกาะ  รายได้ต่อเดือนตกประมาณเดือนละ 40,000(ยังไม่รวมค่าใช่จ่าย)  ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเยอะที่สุด 



โฮมสเตย์ บน เกาะพิทักษ์ มีทั้งหมด 17 หลังคาเรือน   คือ


1.ไม่มีป้ายชื่อโฮมเตย์

2.บ้านเคียงเล    คุณสมผล  สุขสวัสดิ์

3.ไม่มีป้ายชื่อโฮมสเตย์

4.บ้านป้าเมียด   คุณทวี  หิ้นเตี้ยน

5.บ้านสารภีทะเล   คุณมนัส  เย็นบางสะพาน

6.บ้านป้าศรี    คุณพรศรี   รัตนราช

7.บ้านโกงกาง     คุณสุวินิตร    พรมสงค์

8.บ้านไม้ชายเลน   คุณประวิทย์   หิ้นเตี้ยน

9.บ้านจีระพัฒน์      คุณจีระ    พัฒน์มงคล

10.บ้านริมเล    คุณวิลัยวรรณ   ช่วยอุดม

11.เรือนลำพู   คุณมาลัย  พัฒนสถิต



12.เรือนปาริฉัตร     คุณอรอนงค์    วรรณทอง
             


  13.บ้านเล    คุณวิมล   วิเชียร

14.บ้านเกาะพิทักษ์   คุณอำพล  ธานีครุฑ

15.เรือนนางเงือก   คุณพร   ธานีครุฑ

16.ไม่มีป้ายชื่อโฮมสเตย์

17.บ้านตังเก

ลักษณะบ้านพักส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมทะเล มีชานบ้านกว้างขวางยื่นออกไปในทะเล นักท่องเที่ยวหลายคนติดใจการนอนพักบนชานมากกว่าการนอนในห้องพักเสียอีก เนื่องจากสามารถรับลมเย็นๆ ได้ตลอดทั้งวัน เหมาะแก่การนอนพักผ่อน มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้ไม่ว่าจะเป็น มุ้งกันยุง ชุดที่นอน พัดลม ห้องน้ำส่วนใหญ่จะสร้างบนฝั่งริมหาดเพื่อไม่ให้น้ำทะเลหมดความสวยงาม



ลักษณะภายในของโฮมสเตย์

อาหาร


   ในเรื่องอาหารการกินไม่เป็นปัญหาสำหรับชาวบ้าน เกาะพิทักษ์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ฝั่งสามารถเดินไปได้ อาหารส่วนใหญ่จึงเป็นอาหารพื้นบ้าน และอาหารทะเลเป็นหลัก แต่หากนักท่องเที่ยวต้องการอะไรเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวสามารถแจ้งบ้านที่พักได้ แต่ควรบอกล่วงหน้าก่อนเดินทาง


กิจกรรมบนเกาะพิทักษ์





  • ศึกษาวิถีชุมชน และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมง 
  • ดำน้ำดูประการังและหอยมือเสือ
  • ตกปลาไดร์หมึก
  • เล่นน้ำทะเลที่หาดทรายบนเกาะ
  • ร่วมประเพณีทำบุญสวด กลางบ้าน เดือนสิงหาคม
  • ดูปลาโลมาสีชมพู
  • ทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ และชมวิธีการเผามะพร้าวแห้ง
  • ทำน้ำมันมะพร้าว
  • จำหน่ายของที่ระลึกพื้นบ้าน



    ร้านจำหน่ายของที่ระลึก



ค่าใช้จ่าย

ค่าที่พัก ค่าเรือ และค่าอาหาร 3 มื้อ 700 บาท (ไม่พักรวมกับชาวบ้าน)
- ค่าที่พัก ค่าเรือ และค่าอาหาร 3 มื้อ 450 บาท (พักรวมกับชาวบ้าน)
- อุปกรณ์ดำน้ำ เสื้อชูชีพ ชุดละ 50 บาท



กฎการเข้าพัก
เนื่องจากชุมชนบน เกาะพิทักษ์ นับถือศาสนาพุทธ จึงไม่มีกฎข้อห้ามมากนัก เกาะพิทักษ์ มีข้อห้ามเพียงอย่างเดียวคือ ห้ามนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาพักแรมนำสิ่งเสพติดทุกชนิดขึ้นบนเกาะ
เนื่องจากเป็นเกาะปลอดยาเสพติดมาตั้งแต่ในอดีต ข้อสำคัญอีกอย่างคือ ต้องติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนเดินทาง พร้อมแจ้งจำนวนคน ระยะเวลาในการพัก เพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมรับรอง



สรุปผลการศึกษา



โฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์ ที่ เกาะพิทักษ์


 จุดเริ่มต้นของกลุ่ม โฮมสเตย์ บ้าน เกาะพิทักษ์  เกิดเมื่อประมาณปี 2538 เมื่อเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น ประกอบกับติดใจในธรรมชาติของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเริ่มมองหาที่พัก ผู้ใหญ่บ้านอำพล ธานีครุฑ จึงเรียกลูกบ้านประชุมหารือในการจัดทำบ้านพักในรูปแบบ โฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและเป็นรายได้เสริมให้กับลูกบ้านบนเกาะ โดยในปีแรกได้เก็บเงินจากนักท่องเที่ยวเพียง 100 บาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทดลองให้กับลูกบ้าน....ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการพักผ่อนแบบ โฮมสเตย์ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น โฮมสเตย์ บ้าน เกาะพิทักษ์ จึงเริ่มรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้การจัดการในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อแบ่งปันรายได้ให้ทั่วถึง ซึ่งชาวบ้านบนเกาะทั้งหมด 42 ครัวเรือน ปัจจุบันสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกหลัง... โฮมสเตย์ เกาะพิทักษ์ นับเป็นชุมชนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากนิตยสาร และหนังสือหลายเล่ม ว่าเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจ และเป็นเกาะที่ยังคงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามรอบเกาะไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และเริ่มเป็นเกาะที่ติดอกติดใจของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนในขณะนี้
คุณป้าพร ธานีครุฑ ได้ให้ข้อมูลว่า การลงทุนทำโฮมสเตย์ไม่ได้มากมายอะไร เก็บเล็กผสมน้อย ลงทุนไปครั้งแรกประมาณ 10,000-20,000 แล้วค่อยเก็บทีละน้อย เพื่อนำไปซื้อไม้เพื่อต่อเติมโฮมสเตย์ ซื้อไม้แล้ว แช่น้ำทะเลไว้ใต้ทุนบ้าน เพื่อให้ไม้มีความเหนียวและความคงทน
โฮมสเตย์ทั้งหมดเป็นแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมบนเกาะ  รายได้ต่อเดือนตกประมาณเดือนละ 40,000(ยังไม่รวมค่าใช่จ่าย)  ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเยอะที่สุด 

ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มาพักโฮมสเตย์ บน เกาะพิทักษ์


"คุณพี่เล็ก(เสื้อสีชมพู)  พี่เขามาจาก จังหวัดสงขลา และได้รับคำแนะนำมาจากเพื่อน ว่าบรรยากาศที่นี้สวยมาก พี่เล็กและครอบครัวจึงเดินทางมาเที่ยวเพื่อนผ่อนคลาย พอมาถึงก๊ไม่ผิดหวังเลย พี่เล็กบอกว่า โฮมสเตย์ของที่นี้สวยงาม บรรยากาศดีแต่การบริการอาจยังดีไม่พอ  เพราะเนื่องจากว่า ช่วงนี้ นักท่องเที่ยวเยอะ การบริการคงไม่ทั่วถึง  ค่าที่พักก๊ไม่แพง อาหารก็อร่อยถูกปาก"



"กลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้  มาจาก จังหวัด เพชรบุรี พวกพี่ๆเขาได้พักที่บ้านป้าพรศรี  พี่เขาบอกว่า บรรยากาศดี ที่พักสวยงาม สะอาด แต่การบริการไม่ค่อยดีเท่าไร คุณป้าเจ้าของบ้านใจดี อาหารก็อร่อย สด และถูกหลักอนามัย"




ประโยชน์ที่ได้รับ


1.ได้ความรู้เกี่ยวการวางแผนในการดูแลโฮมสเตย์
2.ได้รู้ความเป็นมาก่อนที่จะมาเป็นโฮมสเตย์
3.ได้รู้การใช้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
4.ได้มีส่วนเข้าไปสัมผัสเปรียบเสมือนว่าเราอยู่ในครอบครัวเดียวกัน
5.ได้พบปะผู้คนมากมายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
6.ได้ประหยัดงบประมาณค่าที่พักซึ่งมีราคาไม่แพง
7.ได้รับความเป็นธรรมชาติมากกว่าการพักโรงแรม













จัดทำโดย
1. นางสาวเกวลี     โตเปลี่ยน         รหัส 54170126
2. นางสาวณัฐนรี   ผดุงนานนท์    รหัส 54170194
3. นางสาวสิริกร    ความดี             รหัส 54170228
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ (ภาคปกติ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น